

เมื่อวันที่ 23 ก.ย. 66 ที่ผ่านมา รศ.มาลิณี จุโฑปะมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ให้เกียรติเป็นประธานเปิด โครงการประชุมวิชาการ Conference เพื่อพัฒนาครูระยะเข้าสู่วิชาชีพ ตามโครงการผลิตครูเพื่อพัฒนาท้องถิ่น ให้มีสมรรถนะการจัดการเรียนรู้สู่การยกระดับคุณภาพการศึกษา รุ่นที่ 6 (บรรจุปี พ.ศ. 2564) รอบ 2 ร่วมกับเครือข่ายภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ประกอบด้วย มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษมหาวิทยาลัยมหาสารคาม มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด และมหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
โดยมี ครูในโครงการผลิตครูเพื่อพัฒนาท้องถิ่น ระยะเข้าสู่วิชาชีพ จากจังหวัดบุรีรัมย์ นครราชสีมา สุรินทร์ ศรีสะเกษ ร้อยเอ็ด ยโสธร มหาสารคาม อำนาจเจริญ อุบลราชธานีและอีก 7 เครือข่าย รวมกว่า 800 คน เข้าร่วมประชุม ในครั้งนี้
โดยการจัดโครงการในครั้งนี้จัดขึ้นโดย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ มีวัตถุประสงค์เพื่อการสะท้อนผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้บูรณาการภาษาอังกฤษเพื่อการจัดการเรียนรู้สาระวิชา, การเรียนรู้การบูรณาการระหว่างความรู้ด้านเทคโนโลยี, ความรู้ด้านการสอนและความรู้ด้านเนื้อหาที่เน้นการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้นอกห้องเรียนที่มีชุมชนเป็นฐาน สำหรับครูในโครงการผลิตครูเพื่อพัฒนาท้องถิ่น ในระยะเข้าสู่วิชาชีพ รุ่นที่ 6 (บรรจุปี 2564) ก่อนที่จะได้เป็นครูประจำการ ตามที่โครงการผลิตครูเพื่อพัฒนาท้องถิ่นได้ตั้งเป้าหมายไว้ ที่จะผลิตครูที่มีความรู้ ความสามารถในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เหมาะสม สอดคล้องกับบริบทท้องถิ่น และยกระดับคุณภาพการศึกษาในท้องถิ่นให้สูงขึ้น
สำหรับกิจกรรมภายในโครงการ ได้มีการมอบรางวัล Best of The Best และรางวัลชมเชย ให้กับครู 8 กลุ่มสาขาวิชา ที่เป็น Best Practices ในการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ จากทั้ง 7 เครือข่าย จำนวนทั้งสิ้น 55 คน
การจัดกิจกรรมเวทีสะท้อนผล “การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ ของเครือข่ายภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง” จากตัวแทนคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในการตัดสินรางวัล Best of The Best จาก 8 สาขาวิชา, กิจกรรมเวทีเสวนา “การจัดการเรียนรู้ด้วยการบูรณาการอย่างไรให้มีคุณภาพ” โดย ครูผู้ได้รับรางวัล Best of The Best จาก 8 สาขาวิชา, กิจกรรมสานสัมพันธ์ครูในโครงการผลิตครูเพื่อพัฒนาท้องถิ่น ระยะเข้าสู่วิชาชีพ รุ่น 6 เครือข่ายภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง และการอบรมเชิงปฏิบัติการ “การออกแบบเกมร่วมกับการสร้างเงื่อนไขเพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการคิดในห้องเรียนให้สอดรับกับห้องเรียนในศตวรรษที่ 21